มองโลกผ่านเลนส์ของช่างภาพแนวไฮบริด
Edo Lo ช่างภาพแนวไฮบริด มีความเชี่ยวชาญทั้งในด้านการถ่ายรูปและวิดีโอ ความรู้และประสบการณ์ทั้งในศาสตร์และศิลป์แห่งการถ่ายภาพช่วยให้เขาสามารถบันทึกความงามที่แฝงอยู่ในความธรรมดาและชีวิตประจำวันของครอบครัวและผู้คนตามท้องถนน ในบทสัมภาษณ์นี้ Lo มาบอกเล่ามุมมองและสิ่งสำคัญที่สุดเวลาที่สามารถจับภาพที่จะเป็นความทรงจำเอาไว้ได้ ช่างภาพผู้นี้มองว่าภาพถ่ายและวิดีโอล้วนมีความงามในตัวเอง และอยากจะเห็นอนาคตของการถ่ายภาพที่มีการผสมผสานกันแบบไฮบริดเช่นนี้มากขึ้น
เล่าให้เราฟังหน่อยว่าคุณเข้าสู่วงการภาพถ่ายแบบไฮบริดได้อย่างไร คุณฝึกถ่ายภาพและวิดีโอไปพร้อมกันหรือเปล่า
ตอนผมอายุ 15 ช่วงนั้นเป็นยุค 90 ตอนนั้นผมยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการถ่ายภาพยนตร์เลย ผมลองใช้กล้องฟิล์มคอมแพ็ค แล้วก็กล้องวิดีโอบันทึกเรื่องราวส่วนตัวในชีวิต เป็นพวกกิจวัตรประจำวัน แล้วก็เวลาเล่นสโนว์บอร์ด พอตอนปี 2010 ผมเริ่มถ่ายภาพและถ่ายวิดีโอเพราะว่าผมมีแบรนด์แฟชั่นของตัวเอง ซึ่งงานนี้ต้องใช้ผลิตภัณฑ์และภาพถ่ายเยอะมาก รวมทั้งการทำวิดีโอสำหรับสร้างแบรนด์ด้วย นั่นคือจุดเริ่มต้นของผมครับ
ตอนคุณเริ่มถ่ายภาพแบบไฮบริดสำหรับแบรนด์ของตัวเอง คุณเรียนรู้ที่จะผสมภาพถ่ายเข้ากับวิดีโอได้อย่างไร
พอเป็นแบรนด์เสื้อผ้าแล้ว การถ่ายภาพสินค้าและถ่ายแบบ (ทำเป็นลุคบุ๊ค) เป็นสิ่งจำเป็นในธุรกิจ แต่สำหรับแบรนด์แฟชั่นเล็กๆ แล้ว นั่นไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไร
ปี 2010 เป็นช่วงที่กล้องถ่ายรูปกำลังพัฒนาไปเป็นการถ่ายหนัง นอกจากรูปถ่ายแล้ว ผมเลยทำเป็นหนังรูปแบบสั้นๆ ที่มีสไตล์เฉพาะตัวเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ในด้านการตลาด ผู้คนเริ่มสนใจการถ่ายวิดีโอ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าใจวิธีการสร้างหนังหรือวิดีโอ นั่นหมายความว่าผู้บริโภคจะต้องรู้สึกว่างานของเรานั้นใหม่และน่าสนใจเสมอ ซึ่งนั่นจะช่วยสร้างความคุ้นเคยกับแบรนด์
ผมมักสนใจวิธีที่สร้างภาพออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอหรือภาพถ่าย และในตอนนั้นเอง ผมได้รับเสียงตอบรับและความเห็นที่ดีหลังจากเริ่มถ่ายหนังไปได้บางส่วน ผมทำหนังประมาณ 3-4 เรื่องทุกๆ ซีซั่น/คอลเล็คชั่น หลังจากนั้นไม่นาน งานของผมก็เริ่มไปเข้าตาเอเจนซี่โฆษณา ผมเลยค่อยๆ ผันตัวมาถ่ายภาพ นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมก้าวเข้าสู่วงการภาพถ่ายแบบไฮบริดครับ
คุณบันทึกภาพชีวิตของคุณบ่อยแค่ไหน แล้วปกติไปถ่ายภาพนิ่งและภาพวิดีโอที่ไหน
ผมถ่ายวิดีโอทุกวัน ไม่ได้คิดถึงเรื่องความยาวเลยครับ วิดีโออาจจะเป็นไอเดียที่จู่ๆ นึกขึ้นได้ตอนนั้น หรืออาจจะเป็นตอนที่ผมกำลังอินกับสิ่งรอบตัว ผมก็จะบันทึกสิ่งเหล่านั้นในรูปแบบวิดีโอหรือชุดภาพถ่าย ตอนนี้งานผมต่างจากสมัยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายขาย พวกคอนเทนต์ในตอนนี้ของผมส่วนใหญ่เป็นสารคดีการเดินทางรวมทั้งVlog ระยะหลังๆ นี้ผมก็เริ่มอินกับการภาพถ่ายแนวสตรีท
ผมชอบถ่ายภาพในทุกที่ๆ ไป เมื่อไรที่ผมมีเวลาสักสองสามชั่วโมง ผมจะออกไปเดินตามถนนเพื่อถ่ายภาพ หรือถ่ายวิดีโอสไตล์ Vlog ที่บ้าน หรือในละแวกนั้น ส่วนเวลาอื่น ผมนัดเพื่อน แล้วก็จะถ่ายบางสิ่งที่เราทำ กล้องของผมนี่ตามผมไปทุกที่
พอ Dolaลูกผมเกิด สถานที่ถ่ายภาพของผมก็ไม่ได้เป็นที่เฉพาะเจาะจง แต่เน้นไปที่วันหนึ่งๆ มีอะไรมากกว่าครับ
ในฐานะช่างภาพแนวไฮบริด คุณมีประสบการณ์ในการถ่ายภาพพอตัว คุณมักพกอุปกรณ์อะไรเวลาไปถ่ายงาน
ผมมักเอาของไปไม่เยอะมากเวลาถ่ายภาพครอบครัว อุปกรณ์ที่ผมเลือกส่วนใหญ่ก็มีกล้องถ่ายรูป เลนส์หนึ่งตัวที่เข้ากับสถานที่ถ่ายภาพ ขาตั้งกล้องที่เบา ฟิลเตอร์สำหรับสร้างเอฟเฟกต์ ฟิลเตอร์ลดแสง และไมโครโฟน พออุปกรณ์น้อยแบบนี้ ผมก็ไม่จำเป็นต้องมีกระเป๋ากล้อง ผมสามารถถือทุกอย่างด้วยมือเดียวได้ ส่วนเรื่องประเภทของเลนส์ ผมมักเลือกความยาวโฟกัสที่เหมาะที่สุดตามสถานที่ๆ ไป และสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
ถ้าผมวางแผนไปถ่ายรูปที่ชายหาด นั่นหมายความว่าจะมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น ผมก็จะเลือก Sony FE 35mm F1.4 GM หรือเลนส์ Sonnar T* FE 55mm F1.8 ZA สำหรับในร่ม ผมมักใช้ความยาวโฟกัสแบบมุมกว้าง อย่าง Sony FE 20mm F1.8 G หรือ Sony FE 24mm F1.4 GM เพื่อให้จับภาพได้มากขึ้นในพื้นที่แคบ ส่วนอุปกรณ์เสริม ผมชอบไมโครโฟน Sony ECM-B1M และกริ๊ปถ่ายภาพ Sony GP-VBT2BT
ถ้าหากเป็นเรื่องการเดินทางส่วนตัวที่ผมมักจะถ่ายรูปเยอะ ผมจะสะพายกระเป๋ากล้องใบใหญ่ไปเพราะต้องเอาเลนส์ไปเยอะกว่า เลนส์สามตัวที่ผมจะเอาไปด้วยคือ เลนส์ Sony FE 70-200mm F2.8 GM OSS และ Sony FE 24-105mm F4 G OSS กับเลนส์ไพร์มที่เหมาะ ผมชอบเลนส์ไพร์ม ตัวผมใช้ Sony FE 20mm F1.8 G และ FE 24mm F2.8 G. ส่วนเลนส์ซูม FE 24-105mm F4 G OSS และ FE 70-200mm F2.8 GM OSS ให้คุณภาพรูปดีมาก โดยเฉพาะตัว FE 24-105mm F4 G OSS ที่ยังคงเป็นชิ้นโปรดของผม
คุณจัดการเรื่องการตั้งค่ากล้องเวลาถ่ายรูปอย่างไร
สำหรับรูปถ่าย ผมมักใช้โหมดแมนวล (M)แต่บางครั้งก็สลับไปโหมดรูรับแสง (A)เพราะว่าภาพถ่ายครอบครัวมักจะมีช่วงที่มาแบบปุบปับไม่ทันตั้งตัว โหมดรูรับแสงช่วยกำหนดการเปิดรับแสง ทำให้ผมสามารถสนใจกับการบันทึกเรื่องราวได้ดีกว่า ถ้าเด็กเป็นตัวหลัก ผมใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องเพราะว่าโหมดนั้นดีที่สุดสำหรับช่วงเวลาที่มาเร็วไปเร็ว
ผมมักถ่ายวิดีโอโดยใช้การตั้งค่ากล้องตามนี้
1. โปรไฟล์สี ผมมักถ่ายโดยกำหนดความลึกไว้ที่ S-Log-3, 10-bit และใช้ตัวอย่างสีแบบ 4:2:2 ตัวเลือกพวกนี้ช่วยให้เกลี่ยสีได้สบายมาก เรียกได้ว่าสนุกเลยแหละครับ! บางครั้งผมก็จะใช้โปรไฟล์สี S-Cinetoneเพราะว่าให้ลักษณะสีผิวดีที่สุด แล้วก็เป็นโทนที่มีสีสวยด้วย แค่ปรับแต่งเล็กๆ น้อยๆ
2. ความละเอียดของวิดีโอ/จำนวนภาพนิ่ง ความละเอียดที่ 4K พร้อม 24 fps นั้นเหมาะที่สุดกับโหมด 7K Oversampling ของ Sony Alpha 7 IV เพราะได้ฟีลสมจริงและเป็นธรรมชาติมากกว่า ถ้าผมอยากเติมลูกเล่นหรืออะไรที่แตกต่างลงไปในวิดีโอ บางครั้งผมจะถ่ายเป็นภาพนิ่งระดับสูงที่ 60fps เพื่อจับภาพแบบสโลว์โมชั่น ซึ่งเป็นตัวเค้นอารมณ์ที่ดีเลยครับ
3. ออโต้โฟกัส ความเร็วโฟกัสตั้งไว้ที่ 4/3 และแนะนำให้เปิดตัวโหมดถ่ายภาพทั้งหมดรวมกันเพื่อให้ได้โฟกัสที่นุ่มนวลขึ้นเวลาสลับโฟกัส ผมยังได้ประโยชน์จากตัวเมนูช่วยกำหนดโฟกัส ซึ่งสะดวกมาก แค่ดึงวงแหวน กล้องก็จะปรับไปเป็นโหมดแมนวลโดยอัตโนมัติ เป็นเมนูที่มีประโยชน์เวลาที่เราต้องการการโฟกัสแบบเน้นๆ
เวลาที่ครอบครัวเป็นองค์ประกอบหลักของภาพถ่าย คุณถ่ายทอดเรื่องราวเบื้องหลังภาพถ่ายได้อย่างไร
สำหรับผม เรื่องราวนั้นสำคัญกว่าภาพถ่ายที่สมบูรณ์แบบ อีก 10-20 ปีหลังจากนี้ เรื่องราวที่ภาพถ่ายเหล่านั้นเป็นตัวบอกเล่าจะเป็นสิ่งที่มีความหมาย
เวลาผมต้องการทำให้แน่ใจว่าผมสามารถบันทึกลักษณะของคนที่ผมถ่ายได้อย่างแท้จริง ผมจะพยายามถ่ายวิดีโอสั้นๆ แบบจังหวะเผลอเพื่อให้เป็นธรรมชาติที่สุด ในสถานการณ์แบบนั้น ถ้าวิดีโอสั่นๆ หน่อยถือเป็นเรื่องปกติ และผมยิ่งอยากให้เป็นแบบนั้น เพราะมันทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นธรรมชาติและมีความใกล้ชิดมากกว่า การควบคุมการสั่นนี่ถือว่าเป็นทักษะอย่างหนึ่งนะครับ ผมเชื่อมือผมในการควบคุมลำดับภาพ แต่บางครั้งผมก็เปิดระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวด้วย เพราะช่วยประหยัดเวลา แล้วช่วยให้ผมทำอะไรได้ไวขึ้น เพื่อที่ผมจะได้ถ่ายภาพได้อย่างสมบูรณ์
คุณบอกว่าภาพถ่ายและภาพวิดีโอเป็นวิธีบอกเล่าเรื่องราว แล้วคุณก็ชอบทั้งสองอย่าง การเริ่มต้นเข้าสู่การถ่ายภาพแบบไฮบริดเมื่อปี 2010 ของคุณช่วยสร้างพื้นฐานให้กับโปรเจคท์ในตอนนี้ของคุณ และพัฒนาวิธีบอกเล่าเรื่องราวของคุณได้อย่างไร
เป็นคำถามที่น่าสนใจนะครับ
ผมเคยคุยกับช่างภาพชื่อดังคนหนึ่งที่ถ่ายภาพให้ศิลปิน เขากลับมาถ่ายรูปในแบบฟรีสไตล์อีกครั้งเพราะเขาได้แรงบันดาลใจมาจากวิธีที่ผมถ่ายภาพ สำหรับเขา ภาพของผมมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเขาคิดว่าเป็นเพราะผมเป็นนักสร้างหนัง เขารู้สึกว่ารายละเอียดในงานของผมมักจะมีเซนส์ที่ทำให้อยากรู้อยากเห็นแฝงอยู่ เขาถามผมว่า “คนทำหนังคิดแตกต่างออกไปรึเปล่า ถึงทำให้ผลิตผลในขั้นสุดท้ายแตกต่างออกไป” การที่ผมได้ยินอะไรแบบนี้จากคนเก่งๆ ในวงการนั้นเป็นเรื่องน่าดีใจ แต่ก็ทำให้ผมหยุดคิดเพื่อถามตัวเองว่า “มุมมองของช่างภาพนิ่งแตกต่างจากมุมมองของช่างวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหวหรือเปล่า”
ภาพนิ่งของผมมักเป็นภาพถ่ายแนวสตรีทและไลฟ์สไตล์ สำหรับผม ภาพนิ่งมีไว้จับเรื่องราวที่มีพลัง ภาพที่มีความสดใสหรือสดชื่นช่วยให้คนที่เห็นภาพนั้นๆ จินตนาการได้ว่าภาพและเรื่องราวต่างๆ มาอยู่ในภาพได้อย่างไร
ดังนั้น เวลาที่ผมถ่ายรูป ผมพยายามใช้แสง เงา เส้น รูปร่าง พื้นที่ และองค์ประกอบในการบันทึก “เรื่องราว” ที่มีชีวิตให้มากที่สุด
บางครั้ง รูปถ่ายใบเดียวก็สามารถบอกเล่าเรื่องราวได้ แต่หลายครั้งเราก็ต้องรวมองค์ประกอบและส่วนที่แตกต่างเข้าด้วยกันเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือในครั้งอื่นๆ ก็จำเป็นต้องใช้ภาพถ่ายจำนวนมากในการบอกเล่าเรื่องราวสักเรื่องหนึ่ง เมื่อเราหันกลับมาหาภาพยนตร์ เวลาเราอยากถ่ายภาพออกมาให้ดี เราต้องคำนึงถึงแสง เงา เส้น รูปร่าง พื้นที่ และองค์ประกอบ เพื่อเติมเต็มและทำให้หนังหรือวีดีโอนั้นสมบูรณ์ด้วยมุมมองที่สามารถสื่อสารได้และมีประสิทธิภาพ
ทักษะสองอย่างนี้เวลามองจากมุมที่ใช่มีความคล้ายกัน แม้ว่าการกระทำกับผลที่ได้จะต่างกัน ผมรู้สึกว่าการถ่ายแบบไฮบริดแบบนี้ทำให้ผมมีอิสระที่จะสลับไปมาระหว่างตัวกลางทั้งสอง และได้เรียนรู้จากทักษะทั้งสองด้าน
ช่างภาพแนวไฮบริดระดับสมัครเล่นจะเริ่มเล่าเรื่องราวที่น่าประทับใจได้อย่างไร แล้วอะไรคือสิ่งที่คุณมองว่าเป็นองค์ประกอบหลักๆ ที่จะช่วยให้พวกเขาถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ดียิ่งขึ้น
มีสิ่งสำคัญบางอย่างที่เราต้องใส่ใจเวลาถ่ายภาพและวิดีโอ
สำหรับภาพถ่าย
ภาพถ่ายที่ดีจำเป็นต้องมีจุดประสงค์เพื่อดึงดูดความสนใจ เราเลยต้องคิดว่าองค์ประกอบใดในภาพของเราที่ดึงดูดสายตา ซึ่งนั่นจะเป็น “ธีม” ที่เราต้องการแสดงในรูปถ่าย หลังจากนั้น แทนที่เราจะถ่ายภาพต่อๆ ไปแบบส่งๆ หรือถ่ายไปงั้นๆ เราลองคิดว่าจะออกแบบภาพอย่างไร เราจะได้ถ่ายทอดและแสดงธีมให้คนที่ได้รับชมงานของเราได้ชัดเจนขึ้น พวกเขาจะได้รู้สึกถึงเรื่องราว
นี่คือองค์ประกอบสำคัญสามอย่างที่เราควรนึกถึงไว้
1. การจัดวางองค์ประกอบของภาพช่วยให้คนที่ได้เห็นภาพค้นพบเรื่องราว
2. การใช้แสง เงา และเส้นอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อแสดงธีมออกมาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
3. การใช้ทฤษฎีสีอย่างมีความหมาย ให้สีเหล่านั้นเป็นตัวแสดง สีของตัวหลักของเราควรสะท้อนหรือตรงข้ามกับสภาพแวดล้อม ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเวลาเรามองภาพถ่าย คนตอบสนองต่อสีที่ตรงข้ามกันได้เร็วที่สุด
พยายามเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ ไม่ว่าจะจากหนังสือภาพถ่ายหรืองานในชุมชนก็ตาม เราจำเป็นต้องเรียนรู้และหางานที่เราชอบที่สุดจากสิ่งเหล่านั้น เวลาเรา ‘สร้างสรรค์งาน’ เราอาจลองถ่ายภาพด้วยความรู้สึกแบบเดียวกัน นั่นคือสิ่งที่ผมเรียกว่า ‘ศิลปะทดลอง’ (Sampling art)เราอาจเจอและสร้างลักษณะสร้างสรรค์รวมถึงสิ่งที่เราถนัดในกระบวนการโดยผ่านการปฏิบัติแบบนี้ พอเราฝึกฝน เราก็จะค่อยๆ เสริมสร้างสไตล์การสร้างสรรค์ของเราเอง โดยปรับกระบวนการและสิ่งที่เราถนัดไปเรื่อยๆ
สำหรับภาพยนตร์
จริงๆ แล้ว กระบวนการก็เหมือนการถ่ายรูปนั่นแหละ ความแตกต่างอย่างเดียวคือคอนเทนต์ที่เราถ่ายนั้นเคลื่อนที่ได้ ไม่มีอะไรมากไปกว่านี้เลย
เริ่มฝึกกับช็อทนิ่งๆ ก่อน ไม่ว่าจะใช้มือถือกล้องหรือใช้ขาตั้งกล้อง บันทึกเรื่องราวในฉากด้วยมุมมองแบบช่างภาพ การฝึกแบบนี้จะช่วยให้เราคิดถึงรายละเอียดในภาพได้ แล้วพอคุณชินกับการบันทึกเรื่องราวด้วยเลนส์ฟิกซ์แล้ว ทุกอย่างก็เป็นเรื่องง่ายขึ้นเวลาที่เลนส์คุณขยับ
สะสมประสบการณ์สร้างสรรค์ในชีวิต แล้วทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์เป็นสิ่งหรือตัวเสริมเพื่อเรียนรู้ เช่น ผมใช้ Sony Alpha 7 IV เพราะเป็นกล้องที่สามารถถ่ายภาพและถ่ายหนังได้ เวลาสลับไปมาระหว่างรูปถ่ายกับหนัง โหมดการถ่ายทั้งสองแบบมันสอดคล้องกัน โดยที่เราอาจลองบีบพลังเอาไว้ในภาพเวลาถ่ายรูป แล้วค่อยขยายเรื่องราวเวลาถ่ายภาพยนตร์ก็ได้
ฟีเจอร์ของกล้องช่วยคุณเวลาถ่ายภาพแบบไฮบริดได้อย่างไร คุณช่วยเล่าให้เราฟังถึงประสบการณ์ที่กล้อง Alpha 7 IV ช่วยให้คุณถ่ายทอดมุมมองของคุณออกมาได้หรือไม่
ในช็อทเปิดตัว การตั้งค่าโปรไฟล์ของผมอยู่ที่ PP11 S-CINETONE ซึ่งใกล้เคียงกับความมืดของสิ่งแวดล้อม เวลาเกลี่ยสีภาพหลังการถ่ายแล้ว ผมเพิ่มความสว่างให้ท้องฟ้านิดหน่อย แต่เก็บความมืดของพื้นและผู้คนไว้ ผมมองว่าการใช้ S-CINETONE นี่ค่อนข้างสะดวกเวลาต้องเกลี่ยสีภาพหลังถ่ายงานเสร็จนะ เพราะมันช่วยให้ผมสร้างสรรค์ความแตกต่างได้ และช่วยให้ผมปรับระดับสีของพระอาทิตย์ตกได้ตามที่ผมชอบ
คลิปตอนช่วงที่ 0:53 – 0:56 นั้นถ่ายตอนถือกล้องด้วยมือ และผมคิดว่าภาพแม่และเด็กในวิวที่กว้างใหญ่แบบนั้นเป็นสิ่งที่สวยงามมาก ผมคิดว่าถ้าเป็นช็อทแบบฟิกซ์คงจะดียิ่งกว่าเดิมด้วยซ้ำ ผมไม่มีเวลาตั้งขาตั้งกล้อง ผมเลยรีบวิ่งไปที่จุดนิ่ง เปิดระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวแล้วก็ลดมือลงต่ำเพื่อให้กล้องอยู่ใกล้กับพื้นทราย นี่ทำให้เกิดช็อทที่นิ่งมาก ซึ่งคล้ายกับเวลาที่ถ่ายด้วยกล้องที่ตั้งอยู่บนขาตั้งกล้องได้อย่างน่าประหลาดใจ ซึ่งผมก็ยังคงรักษาภาพมุมที่ระดับต่ำเป็นพิเศษ
มีช็อทยาวที่ถ่ายในระหว่างถือกล้องแล้วก็เดินไปด้วย ต้องขอบคุณเจ้า Alpha7 IV ของผมที่ช่วยให้ภาพไม่สั่นได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ลักษณะแบบสโลว์โมชั่นนี้ยังดึงรายละเอียดของภาพออกมาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น รูรับแสงนี่ตั้งค่าไว้ที่ F1.4 แต่ตัวออโต้โฟกัสสามารถโฟกัสได้แม่นยำกว่าตาของมนุษย์ และการไหลลื่นของโฟกัสยังทำได้อย่างสบาย การตั้งค่าในวิดีโอนี้อยู่ที่ S-Log-3, 4k 60p, AF-C เปิดโหมดระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวและโหมดแก้โฟกัสเวลาเคลื่อนที่ไว้
ระหว่างถ่าย ลูกผมขยับเร็วมากแล้วก็วิ่งไปดึงผ้าม่าน ผมรีบคลานใต้โต๊ะตามไปแล้วก็ถ่ายภาพ ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ฟีเจอร์โฟกัสตาอัตโนมัติของ Alpha 7 IV สามารถจับประกายในตาของเด็กได้
ตอนที่แม่และลูกเข้ามาในรูป ผมถ่ายภาพนี้โดยแตะนิ้วเบาๆ บนจอ LCD ของกล้องเพื่อตามตัวหลักที่ได้แตะไป ตัวฟังก์ชั่นหน้าจอสัมผัสมีประโยชน์มากเวลาถ่ายวัตถุที่เคลื่อนไหว โดยเฉพาะในด้านโฟกัสและติดตามการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ ภาพนี้ยังมีความละเอียดสูงถึง 33 เมก้าพิกเซ็ล ผมเลยตัดภาพหลังถ่ายงานเสร็จ แล้วก็ปรับรูปให้ได้การวางองค์ประกอบที่ตรงใจมากขึ้น
ข้อคิดจาก Edo
Edo เชื่อว่าภาพถ่ายและวิดีโอเป็นโหมดสร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่ดีสำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์ เมื่อเขาตระหนักได้ว่าช่างภาพรอบตัวหันมาถ่ายภาพยนตร์มากขึ้น และช่างวิดีโอก็หันมาถ่ายภาพมากขึ้น เขาเชื่อว่าการถ่ายภาพแบบไฮบริดมีบทบาทสำคัญในการจับภาพช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดและไม่มีใครคาดคิดที่สุดในชีวิต