บทวิจารณ์

SELP1635G ใหม่ คือเลนส์เพาเวอร์ซูมมุมกว้าง F4 แบบฟูลเฟรมที่เบาที่สุดในโลก

Article Categories

น้ำหนักเบาและใช้งานได้อย่างอเนกประสงค์ เลนส์ FE PZ 16-35mm F4 G (SELP1635G) รุ่นใหม่ล่าสุด ให้ภาพสวยประณีต คุณภาพเยี่ยม และควบคุมได้ ตัวเลนส์กะทัดรัดและมีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ พร้อมทั้งยังออกแบบให้มีระบบเพาเวอร์ซูมใหม่อยู่ภายในตัว จึงเหมาะสำหรับกองถ่ายทำขนาดเล็กหรือการถ่ายภาพแบบฉายเดี่ยว เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทีม Mobile01 ได้เลนส์รุ่นนี้มาหนึ่งตัวและตื่นเต้นกันมากที่จะได้ลองใช้เลนส์เพาเวอร์ซูมมุมกว้าง F4 แบบฟูลเฟรมที่เบาที่สุดในโลก

“ด้วยข้อดีที่เพิ่มขึ้นมาของเพาเวอร์ซูม ที่ซูมได้ในตัว และน้ำหนักที่เบาเป็นพิเศษ ทั้งราคาที่ดีงามเทียบได้กับเลนส์ G Master (GM) ไม่รวมถึงเอฟเฟกต์การเปลี่ยนความยาวโฟกัสที่ควบคุมได้ดังใจ และโครงสร้างวงแหวนของรูรับแสงที่ปรับได้อย่างไม่จำกัด เลนส์ตัวนี้จะต้องกลายเป็นลูกรักตัวใหม่ของช่างภาพที่เปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์ในอนาคตแน่นอน!” ทีม Mobile01 กล่าว  

รูปลักษณ์และคุณสมบัติของ SELP1635G  

SELP1635G อาจดูเหมือนเลนส์ซูมมุมกว้างพิเศษโดยทั่วไป แต่ขอเตือนก่อนว่าคุณอาจต้องเตรียมใจให้ดีเพราะคุณสมบัติอันน่าเกรงขามของเลนส์ตัวนี้จะทำให้คุณต้องอึ้ง มาเริ่มจากภายนอกกันก่อนเลย! ตัวเลนส์หุ้มด้วยพลาสติกเสริมแรง ที่ช่วยเพิ่มความคล่องตัวและทำให้มีน้ำหนักเบายิ่งขึ้น รูปลักษณ์ภายนอกตามความเห็นของทีม Mobile01 คือ “น่าจะเป็นมาตรฐานสำหรับเลนส์ E-mount หรือแม้แต่เลนส์ GM ก็ยังได้นะ” SELP1635G หนักเพียง 353 กรัม และมีขนาด 88.1 x 80.5 มม.

เลนส์เคลือบฟลูออรีนและมีโครงสร้างออปติคัล 12 กลุ่ม และ 13 ชิ้นเลนส์, ชิ้นเลนส์ AA (Advanced Aspherical) สองชิ้น, ชิ้นเลนส์ ED Low Dispersion หนึ่งชิ้น, ชิ้นเลนส์ Super ED Low Dispersion หนึ่งชิ้น, ชิ้นเลนส์ Aspherical หนึ่งชิ้น, ชิ้นเลนส์ ED Low Dispersion Aspherical หนึ่งชิ้น พร้อมการเคลือบแบบหลายชั้นในกลุ่มเลนส์ ด้วยรูรับแสง 7 ใบ รวมทั้งกำลังขยายที่มากขึ้นถึง 0.23 เท่า ทำให้ผู้ใช้พึงพอใจกับประสิทธิภาพสูงสุดของเลนส์ และสามารถปรับการใช้งานได้อย่างหลากหลายในระหว่างการถ่ายทำ สำหรับทีม Mobile01 แล้ว การปรับปรุงนี้ “ใช้งานจริงได้ดีกว่ากำลังขยายเดิมที่ 0.19 เท่าของ SEL1635Z อย่างมาก”

Alpha 7 IV | FE PZ 16-35mm F4 G | 35 มม. | 1/400 วินาที | F4 | ISO100

ตัวอย่างของกำลังขยายที่ดีที่สุดและโบเก้ที่หลุดโฟกัส

Mobile01 รู้ดีถึงความสามารถในการซูมที่ยอดเยี่ยมของ SELP1635G รวมถึงวงแหวนซูมบนเลนส์ ปุ่มบนตัวเรือนที่ปรับได้อย่างอิสระ ระบบสัมผัสหน้าจอ และแม้กระทั่งแป้นซูมก็ด้วย ความเร็วในการซูมของเลนส์ตัวนี้จะขึ้นอยู่กับความลึกในการกดแป้นซูม แต่ก็สามารถเปลี่ยนโดยใช้เมนูได้เช่นกัน ในบทความรีวิวยังได้กล่าวถึง “ปุ่มล็อกโฟกัสหรือ Focus Hold” ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ของตนได้ดีขึ้น เนื่องจากพวกเขาได้ทำความคุ้นเคยกับฟังก์ชันของอุปกรณ์ผ่านทางเมนูของปุ่มที่คุ้นตาภายในตัวเรือน นอกจากนี้ เลนส์ยังมีสวิตช์โหมดโฟกัสที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการสลับการใช้งานระหว่างโฟกัสอัตโนมัติ (Auto Focus) กับโฟกัสแบบแมนนวล (Manual Focus) ด้วย  

Iris Lock ของ SELP1635G ก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่ทีม Mobile01 ให้ความสนใจเช่นกัน ฟังก์ชันนี้ช่วยให้ผู้ใช้มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมรูรับแสงจากตัวกล้องได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยจะป้องกันไม่ให้มีการเปลี่ยนค่าการเปิดรับแสงโดยไม่ได้ตั้งใจในระหว่างการถ่ายทำ Mobile01 รู้สึกทึ่งกับคุณสมบัตินี้และได้ทำนายไว้ว่า “ในอนาคต โครงสร้าง Iris Lock จะกลายเป็นฟังก์ชันมาตรฐานสำหรับเลนส์ที่มีวงแหวนปรับรูรับแสงในตัว”  

“SELP1635G มีการออกแบบให้สามารถกันฝุ่นและความชื้นได้ดี วงแหวนตัวนอกของเลนส์ท้ายมีซีลยางที่ทำให้กระชับแน่นยิ่งขึ้นและช่วยกันฝุ่นหรือความชื้นที่จะเข้าไปในตัวเลนส์ เลนส์ยังยึดติดกับตัวเรือนแน่นมากด้วย” Mobile01 กล่าวไว้ในรีวิว 

Alpha 7 IV | FE PZ 16-35mm F4 G | 16 มม. | 1/300 วินาที | F4 | ISO 1250

การเซลฟี่ด้วยมือเดียว

ด้วยเพราะเป็นเลนส์ที่มีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษ ผู้ใช้จึงไม่ต้องใช้ความพยายามมากนักในการถ่ายภาพหรือแม้แต่การเซลฟี่ แม้ต้องชูกล้องออกไปจนสุดแขน ผู้ใช้ก็ยังคงเก็บภาพเพื่อนห้าคนไว้ในเฟรมได้ด้วยความสามารถในการถ่ายมุมกว้าง เมื่อใช้ร่วมกับกล้อง Alpha 7 IV น้ำหนักรวมของชุดกล้องจะอยู่ที่ประมาณหนึ่งกิโลกรัมเท่านั้น “นี่คือการจับคู่ที่ยอดเยี่ยมมากสำหรับคนที่คลั่งไคล้การปีนเขา มันเบามากและคุณภาพของภาพก็สูง นอกจากนี้ยังเหมาะมากสำหรับการบันทึกภาพเมื่อใช้ร่วมกับไม้กันสั่นแบบ 3 ขา” Mobile01 กล่าว  

การซูมแบบดอลลี่  

การซูมแบบดอลลี่คือ เทคนิคภาพที่จะเคลื่อนกล้องเข้าหาหรือออกจากตัวแบบ ในขณะที่เลนส์ซูมก็จะทำการซูมเพื่อปรับมุมและเก็บภาพตัวแบบในขนาดเท่าเดิมไว้ในเฟรมตลอดระยะการถ่ายทำฉากดังกล่าว อธิบายง่าย ๆ คือ คนที่อยู่หลังกล้องจะซูมเข้าไปในขณะเดียวกันก็เคลื่อนกล้องออกห่างจากตัวแบบ หรือซูมออกพร้อม ๆ กับเคลื่อนกล้องเข้าหาตัวแบบเพื่อสร้างความรู้สึกว่าฉากกำลังถูกยืดออก เทคนิคเลนส์นี้ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์คลาสสิกมากมายนับไม่ถ้วน ดูวิดีโอของ Mobile01 ด้านล่างเพื่อทำความเข้าใจกับการซูมแบบดอลลี่!  

“เราไม่ได้มีรางเลื่อนนะ เราถ่ายวิดีโอทั้งสองชุดโดยใช้เพาเวอร์ซูมควบคุมความยาวโฟกัสด้วยมือ และก็เพราะควบคุมโดยใช้เพาเวอร์ซูมนี่แหละที่ทำให้เราได้เอฟเฟกต์การซูมที่ต่อเนื่องและลื่นไหล” ทีม Mobile01 อธิบาย  

การเปรียบเทียบ (SELP1635G กับ SEL1635Z)  

SEL1635Z เปิดตัวในปี 2014 และกลายเป็นหนึ่งในเลนส์ F4 ฟูลเฟรมระดับแนวหน้าได้อย่างง่ายดาย Mobile01 กล่าวว่าทั้ง SEL1635Z และ SELP1635G ให้ความรู้สึกแตกต่างกันอย่างชัดเจน และได้เปรียบเทียบเลนส์ทั้งคู่แบบจุดต่อจุดเอาไว้ มาเจาะลึกข้อสังเกตจาก Mobile01 เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเลนส์ทั้งสองรุ่นกัน! เริ่มจากรูปลักษณ์ของเลนส์ดังกล่าว  

รูปลักษณ์  

เมื่อมองดูเลนส์ทั้งสองรุ่น ไม่ว่าใครก็สามารถสังเกตเห็นความแตกต่างของวัสดุภายนอกที่ใช้ได้ ทางด้านหนึ่งคือ SELP1635G ผลิตจากพลาสติกเสริมแรง ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบากว่า ในขณะที่ SEL1635Z มีลุคแบบเมทัลลิกที่แข็งแรง โดยตัวเลนส์ทั้งหมดรวมถึงวงแหวนปรับโฟกัสและวงแหวนซูมจะทำจากโลหะ ซึ่งวัสดุนี้ย่อมส่งผลถึงน้ำหนักของเลนส์อย่างแน่นอน  

“SELP1635G จะสั้นกว่า SEL1635Z ประมาณ 10.4 มม. และเบากว่าประมาณ 165 กรัม นอกจากนี้โครงสร้างซูมในตัวยังทำให้ง่ายต่อการพกพาและใช้งาน ในขณะที่ SEL1635Z จะซูมได้ถึง 16 มม. และเลนส์จะยืดได้อีก เลนส์ทั้งสองตัวมีช่องเปิดเลนส์หน้า 72 มม. SEL1635Z มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวแบบออปติคอลในตัว (Optical Image Stabilisation หรือ OSS) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยากในเลนส์มุมกว้างพิเศษ” รีวิวจาก Mobile01 ระบุ  

ความเร็วในการโฟกัส  

SELP1635G ใช้มอเตอร์แนวราบ XD ซึ่งรองรับการถ่ายภาพด้วยความเร็ว 30 เฟรมต่อวินาที (FPS) และการบันทึกวิดีโอที่ความละเอียด 4K 120P ของ Alpha 1 ได้เป็นอย่างดี Mobile01 ได้ทดสอบและเปรียบเทียบความเร็วในการโฟกัสของเลนส์ทั้งสองตัวที่ความยาวโฟกัส 35 มม. และพบความแตกต่างระหว่างโฟกัสเดี่ยว AF-S เพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเปลี่ยนไปใช้ AF-C จะพบว่า SELP1635G มีความไวมากกว่าอย่างชัดเจนเพราะสามารถโฟกัสได้อย่างรวดเร็วและทันทีที่เล็งเฟรมโฟกัส  

ดูการเปรียบเทียบด้านล่าง:  

เอฟเฟกต์การเปลี่ยนความยาวโฟกัส  

Mobile01 ยังได้ทดสอบการเปลี่ยนความยาวโฟกัสของเลนส์และชมเชยคุณสมบัติข้อนี้ของ SELP1635G เอาไว้ด้วยเช่นกัน “SELP1635G จัดการกับการเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ยอดเยี่ยมมาก โดยเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับฟังก์ชันการชดเชยการเปลี่ยนความยาวของกล้อง Alpha 7 IV” รีวิวของทีมกล่าวไว้  

ทีมได้ทำการทดสอบเลนส์ทั้งสองตัวโดยปิดฟังก์ชันการชดเชยการเปลี่ยนความยาวของ Alpha 7 IV ไว้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำยิ่งขึ้น ในการเปรียบเทียบ ทีมพบว่าถึงแม้ SEL1635Z จะทำการชดเชยการเปลี่ยนความยาวได้ดีเช่นกัน แต่ก็ให้ความเห็นว่า SELP1635G ควบคุมได้ดีกว่า “ถ้าได้เปิดฟังก์ชันการชดเชยการเปลี่ยนความยาวของ Alpha 7- IV ด้วย จะยิ่งดีมากกว่านี้อีก” 

ขอบเขตมุมกว้าง  

สำหรับการเปรียบเทียบในส่วนของขอบเขตมุมกว้าง Mobile01 ตั้งข้อสังเกตว่าความยาวโฟกัสและมุมมองภาพของเลนส์แต่ละตัวจะแตกต่างกัน เนื่องด้วยทีมไม่ได้มีอุปกรณ์ที่จะวัดความแตกต่างของมุมได้อย่างเจาะจง จึงระบุไว้เพียงว่าเห็นได้อย่างชัดเจนว่า SEL1635Z จะน้อยกว่าไป 1-2 มม. เมื่อปรับตั้งมุมทั้งสองไว้ที่ระยะ 35 มม. จะเห็นความแตกต่างได้ไม่ชัดเจนนัก อย่างไรก็ตาม Mobile01 ตื่นเต้นกันมากที่ได้เห็นว่าเมื่อปรับใช้มุมกว้างพิเศษแล้ว ระยะ 1 มม. กลับสร้างความแตกต่างอย่างมหาศาล!  

ลองดูความแตกต่างด้วยตัวของคุณเอง: 

SELP1635G | 16mm   
SEL1635Z | 16mm
SELP1635G | 35mm
SEL1635Z | 35mm

การผิดรูปของเลนส์มุมกว้าง 16 มม.  

“เมื่อดูที่ภาพ จะเห็นความแตกต่างระหว่าง SELP1635G และ SEL1635Z ทั้งก่อนและหลังการสอบเทียบได้อย่างชัดเจน นี่คือกลยุทธ์ของบริษัทผู้ผลิต นั่นเพราะมันง่ายกว่าที่จะวางใจให้กล้องทำ ‘การชดเชยของเลนส์’ แทนที่จะทำ ‘การแก้ไขการกระจายของสี’ สำหรับการนูนออกทางด้านข้างของเส้นแนวตั้ง” Mobile01 กล่าว  

สำหรับประเด็นนี้ ผู้รีวิวสรุปว่า SELP1635G จะต้องใช้ความพยายามมากกว่าในการแก้ไขการกระจายของสี เนื่องจากกล้องยังคงแสดงผลที่ความยาวโฟกัส 16 มม. แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อมุมกว้าง

SELP1635G | Post-calibration
SELP1635G | Pre-calibration
SEL1635Z | Pre-calibration
SEL1635Z | Post-calibration

ความละเอียด (Alpha 7 IV, 61 ล้านพิกเซล)  

เพื่อให้การทดสอบเพื่อเปรียบเทียบความละเอียดมีความแม่นยำยิ่งขึ้น Mobile01 จึงใช้กล้อง Alpha 7 IV 61 ล้านพิกเซล สำหรับโครงการนี้ “ภาพต่อไปนี้เป็นภาพครอปขนาด 720 x 480 ความละเอียด 61 ล้านพิกเซล ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นค่อนข้างน่าประหลาดใจทีเดียว สำหรับ SEL1635Z ที่เปิดตัวในปี 2014 ก็ไม่ได้ดูเก่ากว่า Alpha 7 IV และเทียบได้สูสีกับเลนส์รุ่นใหม่อย่าง SELP1635G น่าทึ่งมากที่เลนส์ประสิทธิภาพสูงแบบนี้สามารถเปิดตัวในยุคที่ความละเอียดสูงสุดยังอยู่แค่ 36 ล้านพิกเซล (Alpha 7R) ได้!” Mobile01 ให้ความเห็นอย่างประทับใจสุด ๆ  

รูรับแสงใช้งานของ SELP1635G เมื่อตั้งค่าเป็นมุมกว้างจะอยู่ระหว่าง F4 ถึง F16 จึงง่ายต่อการนำมาเปรียบเทียบกับ SEL1635Z อย่างไรก็ตาม การที่ Mobile01 ขยายความยาวโฟกัสเป็น 35 มม. นั้นทำให้เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน “SELP1635G สามารถใช้กับกล้อง Alpha 7 IV 61 ล้านพิกเซล ที่ F4 ถึง F16 ได้แน่นอน สำหรับ SEL1635Z แนะนำว่าควรใช้ที่ F4 ถึง F5.6 เพราะคุณภาพของภาพจะลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ F8 ไป” ทีมให้ข้อมูลเอาไว้  

SELP1635G | 16mm | F4
SEL1635Z | 16mm | F4
SELP1635G | 16mm | F22
SEL1635Z | 16mm | F22
SELP1635G | 35mm | F4
SEL1635Z | 35mm | F4

การแก้ไขความคลาดเคลื่อนของสี (Alpha 7 IV, 61 ล้านพิกเซล)  

ภาพมีขนาด 720 x 480 ซึ่งครอปมาจากภาพที่มีความละเอียด 61 ล้านพิกเซล “SELP1635G จะใช้ชิ้นเลนส์ ED Low Dispersion หนึ่งชิ้น, ชิ้นเลนส์ Super ED Low Dispersion หนึ่งชิ้น และชิ้นเลนส์ ED Low Dispersion Aspherical หนึ่งชิ้น อย่างไรก็ดี เลนส์เหล่านี้เป็นเลนส์ซูมที่มีรูรับแสงคงที่ที่ F4 ไม่ใช่เลนส์ที่มีรูรับแสงขนาดใหญ่ การแก้ไขการกระจายของสีจึงไม่น่าจะยาก” Mobile01 อธิบาย  

ที่ตำแหน่งตรงกลางภาพกับรูรับแสงกว้างสุดที่ F4 เลนส์ทั้งสองตัวจะเกิดขอบม่วงขึ้นแต่ไม่ได้เห็นเด่นชัด ในขณะเดียวกัน เมื่อใช้รูรับแสงตั้งแต่ F5.6 ทีม Mobile01 พบว่าการกระจายของสีได้รับการแก้ไขจนหายไปหมด ทีมยังให้ข้อสังเกตไว้ด้วยว่าภาพจากเลนส์ SELP1635G มีความคลาดเคลื่อนของสีในแนวนอนเล็กน้อย และ SEL1635Z เกิดขอบม่วงเล็กน้อยจนกระทั่งค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อใช้รูรับแสงที่ F11  

SELP1635G | F4  
SEL1635Z | F4
SELP1635G | F22
SEL1635Z | F22

การป้องกันแสงแฟลร์ (Alpha 7 IV, 61 ล้านพิกเซล)  

ในการถ่ายภาพนั้นเป็นที่รู้กันว่าเลนส์มุมกว้างมักถูกออกแบบให้มีความสามารถในการป้องกันแสงแฟลร์ได้มากขึ้นเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสว่างจ้า อย่างเช่นแสงอาทิตย์ ในหัวข้อนี้ Mobile01 ได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างการเคลือบแบบหลายชั้นของ Sony เองกับการเคลือบ T* ของ Zeiss ซึ่งการเคลือบ T* นี้เป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจมาก ผลการเปรียบเทียบแสดงให้เห็นว่าระดับของแสงแฟลร์ระหว่างเลนส์ทั้งสองตัวจะแตกต่างกัน และผู้รีวิวเผยว่าจุดแสง (light spots) และแสงหลอก (ghosting) จากเลนส์ SEL1635Z จะมีลักษณะอ่อนกว่า

SELP1635G | F4
SEL1635Z | F4
SELP1635G | F22
SEL1635Z | F22

รูปแบบแฉกแสง (Alpha 7 IV, 61 ล้านพิกเซล)  

ดังที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่าเลนส์ทั้งสองตัวมีรูรับแสง 7 ใบ จากการทดสอบเปรียบเทียบของทีม Mobile01 ผู้รีวิวพบว่าตั้งแต่รูรับแสงที่ F4 เป็นต้นไป SELP1635G จะมีแสงแฉก (starburst) เล็กน้อย ในขณะเดียวกัน เมื่อลดรูรับแสงลงมาที่ F5.6 จะเกิดแสงแฉก 14 แฉก ที่มีส่วนหางเรียวแหลมอย่างสวยงามดูคล้ายกับเม่นทะเล ในทางกลับกัน เลนส์ SEL1635Z จะเกิดภาพแสงแฉกที่แผ่กระจายออกเมื่อใช้รูรับแสงที่ F22  

Mobile01 ยังให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมด้วยว่าแสงแฉกที่เกิดจาก SELP1635G เป็นแสงแฉกที่สวยสมบูรณ์แบบสำหรับช่างภาพทิวทัศน์

SELP1635G | F22 
SEL1635Z | F22


บทสรุป   

“รูปลักษณ์ของ SELP1635G ทำให้ฉันแปลกใจอยู่บ้าง หลังจากการอัปเดตครั้งล่าสุดของ FE 70-200mm F2.8 GM OSS II (SEL70200GM2) จำได้ว่าเลนส์ GM พวกนั้นเองก็มีการอัปเดตเหมือนกัน ฉันคาดว่า SEL2470GM2 น่าจะเป็นตัวแรกที่เปิดตัว แต่ก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้เห็นเลนส์มุมกว้างตัวอื่นเพิ่มเข้ามาในกลุ่มเร็ว ๆ นี้” Mobile01 ให้ความเห็นไว้ในรีวิว  

พึงทราบว่าการเพิ่ม SELP1635G เข้ามาในกลุ่มเลนส์มุมกว้างพิเศษของ Sony อันได้แก่ SEL1635Z, SEL1224G, SEL1635GM, SEL1224GM และ SEL14F18GM ที่มีความยาวโฟกัสตายตัว ทำให้รายการตัวเลือกที่มีครอบคลุมทุกความต้องการ “เลนส์จำนวนมากนี้ทำให้บริษัทกลายเป็นรายใหญ่สุดในตลาดกล้อง MILC ได้อย่างง่ายดาย แต่ดูเหมือนว่าการเจาะตลาดเลนส์ตัวที่สองจะทำได้ยากขึ้นเช่นกัน” ทีมกล่าว  

“แม้ว่าจะไม่ใช่ GM แต่ความสามารถที่มีก็ดูเบาไม่ได้เลย และการใช้เลนส์พิเศษทั้ง 7 ชิ้นยังแสดงถึงความตั้งใจและความคาดหวังของบริษัทผู้ผลิตได้เป็นอย่างดี” Mobile01 กล่าว “เลนส์ G ใช้โครงสร้างโฟกัสในตัว แต่ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นเลนส์รุ่นที่มีซูมในตัว โดยเฉพาะที่มีแป้นเพาเวอร์ซูม และด้วยน้ำหนักตัว 353 กรัม การบันทึกภาพที่ทำได้อย่างง่ายดายด้วยไม้กันสั่นแบบ 3 ขา เนื่องจากเพาเวอร์ซูมจะทำการซูมอย่างคงที่สม่ำเสมอและให้ภาพที่ดูเป็นธรรรมชาติยิ่งขึ้นบนหน้าจอ”  

เลนส์ SELP1635G เหมาะสำหรับคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ผลิตทั้งผลงานภาพถ่ายและวิดีโอ ด้วยการสนับสนุนจากกล้องตระกูล Alpha อย่าง Alpha 7 IV ที่มาพร้อมความละเอียด 61 ล้านพิกเซล ช่างภาพและช่างภาพวิดีโอจะสามารถใช้เลนส์นี้ในการผลิตผลงานที่ยอดเยี่ยมด้วยภาพความละเอียดสูงได้อย่างแน่นอน  

มอเตอร์แนวราบ XD ในเลนส์เองก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติที่สร้างความครั่นคร้ามให้กับทีม Mobile01 เช่นกัน ผู้รีวิวให้ข้อมูลว่าจากการใช้มอเตอร์แนวราบ XD ทำให้ AF-C เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และโฟกัสต่อเนื่องก็ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป พวกเขากล่าวย้ำว่ามันยอดเยี่ยมเพียงใดเมื่อใช้เลนส์ที่สุดยอดนี้คู่กับกล้องที่แรงพอ ๆ กันอย่าง Alpha 7 IV อย่างไรก็ตาม ทีมยังแนะนำให้ลองใช้เลนส์นี้กับ Alpha 7S III และ FX3 ถ้าผู้ใช้ต้องการได้ผลงานการบันทึกภาพขั้นสูงยิ่งขึ้น  

“ถ้าคุณกำลังมองหาเลนส์มุมกว้างพิเศษ E-Mount ที่ยอดเยี่ยมและมีงบจำกัด ฉันคิดว่า SELP1635G คือตัวเลือกที่เหมาะสม ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ ราคาที่ทาง Sony Taiwan ตั้งไว้ก็ไม่ค่อยทำให้ผู้บริโภคผิดหวังอยู่แล้ว เรากำลังเฝ้ารอราคางาม ๆ ตอนลดราคาสำหรับแฟน Sony อยู่นะ!” ทีม Mobile01 สรุป   

FE PZ 16-35mm F4 G SAMPLE PHOTOS

thumbnail (17).png
Alpha 7 IV | FE PZ 16-35mm G | 19mm | 1/80 sec | F4| ISO 800
thumbnail (18).png
Alpha 7 IV | FE PZ 16-35mm G | 35mm | 1/500 sec | F4| ISO 100
thumbnail (19).png
Alpha 7 IV | FE PZ 16-35mm G | 31mm | 1/40 sec | F4| ISO 250
thumbnail.jpg
Alpha 7 IV | FE PZ 16-35mm G | 22mm | 1/320 sec | F4| ISO 100
f5c4c13f-0245-4379-86fc-6ac86e6cdd4e.png
Alpha 7 IV | FE PZ 16-35mm G | 35mm | 1/800 sec | F4| ISO 100
Article Theme

We would like to request access to your Geolocation to provide you with a customised experience. Please know that you can withdraw your consent at any time via your browser settings.